จากการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติ
โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากร การเกษตรกรรม
แหล่งน้ำ ป่าไม้ และพื้นที่ชายฝั่ง ความหลากหลายทางชีวภาพได้ลดลงอย่างรวดเร็ว
เกิดการขาดแคลนทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ถูกทําลาย ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง มีสภาพเสื่อมโทรมลง
ตลอดจนเกิดปัญหาการเสื่อมโทรมของคุณภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ
ได้รายงานทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.
๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ จะเกิดผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของไทย
รวมทั้งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพย์สินทางปัญญา การเร่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศนอกจากเกิดการพัฒนาประเทศให้มีความทัดเทียมกับประเทศต่าง
ๆ ในภูมิภาคแล้ว ยังมีผลกระทบในทางลบที่เกิดจากการพัฒนาประเทศหลายด้าน โดยเฉาะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาหนึ่งที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
อาทิเช่น ปัญหาขยะมูลฝอย น้ำเน่าเสีย อากาศเป็นพิษ ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นในเมืองใหญ่ ๆ
เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และเมืองที่จะเป็นเมืองอุตสาหกรรมยางพารา อย่างเช่นจังหวัดบึงกาฬ
เนื่องจากเป็นจังหวัดใหม่การขยายตัวของเมือง ก่อให้มีปัญหาขยะมูลฝอยที่มีปริมาณมาก
อันเป็นผลมาจากการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันของประชาชน
ประกอบกับการพัฒนาเมืองที่นำมาซึ่งความเจริญ ทางเศรษฐกิจและสังคม
ส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอมีให้เลือกบริโภค
อุปโภคได้สะดวกและรวดเร็ว หลากหลายรูปแบบ เป็นเหตุให้มีสิ่งเหลือใช้และสิ่งปฏิกูลที่ไม่ต้องการมากขึ้น
ก่อให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยล้นเมือง เป็นปัญหาของหลายหน่วยงาน จากข้อมูลสถิติของกรมควบคุมมลพิษ
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เมื่อปี พ.ศ. 2540
รายงานว่าปริมาณมูลฝอยทั่วประเทศมีประมาณ 13.5 ล้านตันต่อปีหรือประมาณ 37,000
ตันต่อวัน และในปี พ.ศ. 2541 มีปริมาณมูลฝอยจากชุมชนทั่วประเทศสูงถึงประมาณ 13.9
ล้านตัน หรือประมาณ 38,000 ตันต่อวัน และในปี พ.ศ. 2544
ปริมาณมูลฝอยจากชุมชนทั่วประเทศสูงถึงประมาณ 14.1 ล้านตัน และในปี พ.ศ. 2545
ปริมาณมูลฝอยเพิ่มสูงขึ้นถึง 14.2 ล้านตัน จะเห็นได้ว่าปริมาณมูลฝอยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย
ๆ ในปี 2556 กรมควบคุมมลพิษ สำรวจปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน
7,782 แห่ง พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยรวม 26.77 ล้านตัน
เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ถึง 2 ล้านตัน โดยขยะมูลฝอยร้อยละ 46
มาจากองค์กรบริหารส่วนตำบล(อบต.) ร้อยละ 38 มาจากเทศบาล และร้อยละ 16
มาจากกรุงเทพมหานคร อัตราการผลิตขยะต่อคนต่อวัน
พบว่า สูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี จาก 1.03 กิโลกรัมต่อคนต่อวันในปี 2551 เป็น 1.15
กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ในปี 2556 จากการคำนวณตามพื้นที่ที่เกิดขยะมูลฝอย
พบว่า อัตราการเกิดขยะมูลฝอยกิโลกรัมต่อคนต่อวัน เทศบาลนคร 1.89 เทศบาลเมือง 1.15 เทศบาลตำบล 1.02 เมืองพัทยา 3.90 และองค์กรบริหารส่วนตำบล 0.91 จากขยะมูลฝอยปริมาณ
26.77 ล้านตัน
แบ่งเป็นปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดแบบถูกต้อง จำนวน 7.2 ล้านตัน
คิดเป็นร้อยละ 27 ปริมาณขยะมูลฝอยที่กำจัดแบบไม่ถูกต้อง 6.9 ล้านตันคิดเป็นร้อยละ
26 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ไม่ได้เก็บขนทำให้ตกค้างในพื้นที่ 7.6 ล้านตัน
คิดเป็นร้อยละ 28 และปริมาณขยะมูลฝอยที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ 5.1 ล้านตัน
คิดเป็นร้อยละ 19 (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,2557) และ จากรายงานกรมอนามัย ปี 2557 ร้อยละ
62 ของมูลฝอย ได้รับการจัดการไม่ถูกต้อง ท้องถิ่นไม่มีระบบกำจัด ขาดงบประมาณ
ต้นทุนการสร้างระบบกำจัดขยะสูง ไม่มีสถานที่ กฎหมายไม่เอื้อให้จัดเก็บค่าธรรมเนียม
พฤติกรรมการแยกขยะ 3 ประเภท (3Rs) ของประชาชนยังไม่ดี การรีไซเคิลน้อย และยังไม่บรรลุผลเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษฉบับเพิ่มเติม
(Millennium Development Goals Plus - MDG+) จากเอกสารการตรวจสอบข้อมูลการรวมกลุ่มองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น(อปท.)
เพื่อการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (อุดรธานี) ปี 2557 มีการรวมกลุ่มองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการจัดหาแหล่งพื้นที่จัดเป็นศูนย์จัดการขยะที่จะเกิดขึ้น
ประกอบด้วยพื้นที่กรรมสิทธิ์ของ เทศบาลตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 1 ตำบลโนนสมบูรณ์
อำเภอเมืองบึงกาฬ ในพื้นที่ 15 ไร่
และอยู่ระหว่างจัดซื้อเพิ่มเติมกำหนดให้สถานีขนถ่าย ในอำเภอบุ่งคล้าและ
อำเภอศรีวิไล แห่งละ 1 จุด จากรายงานประชุมสำนักงานจังหวัดบึงกาฬ
เดือน พฤศจิกายน 2557 โดยเฉพาะนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ
จัดให้บึงกาฬเป็นเมืองปลอดขยะ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ดังนั้น
ปัญหาขยะมูลฝอยจึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ทุก ๆ หน่วยงานไม่ว่าภาครัฐ ภาคเอกชน
รวมทั้งภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอย จากการกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาขยะมูลฝอย
หากไม่ให้ความสนใจหรือเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้วนั้น ก็ย่อมทวีความรุนแรงและเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ในปัจจุบันพื้นที่เทศบาลตำบลบึงกาฬ ซึ่งมีขยะมูลฝอยเพียงเล็กน้อยที่เหลือจากการบริหารจัดการ
ประชาชนมักกำจัดโดยวิธีฝังกลบหรือเผาทำลายบ้างเป็นครั้งคราว ไม่มีการแยกขยะ
เป็นอุปสรรคในการนำขยะของแต่ละบ้านหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยแต่ละวันยังมีทิ้งขยะแต่ละประเภทรวมกันในถังเดียว ขยะที่ควรจะนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้หลายชนิดจึงพลอยเปรอะเปื้อนไปด้วย
ทำให้ขยะเหล่านั้นไม่สามารถนำมาแปรรูปและหมุนเวียนใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เมื่อเทียบกับขยะที่ถูกแยกไว้ตั้งแต่แรก การแยกขยะจึงเป็นแนวทางของการลดปริมาณขยะสามารถนำขยะไปใช้อย่างเต็มศักยภาพที่สมาชิกครัวเรือนน่าจะช่วยทำได้
จากที่กล่าวมาเห็นได้ว่าการมีส่วนร่วมในการแยกขยะของสมาชิกครัวเรือน
เป็นวิธีการกำจัดขยะ ณ แหล่งกำเนิดนั้น
มีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยแบ่งเบาภาระในการจัดการขยะของเทศบาลตำบลบึงกาฬ ลดปริมาณขยะ มีการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
โดยวิธีการแยกขยะก่อนนำไปจำกัด ดังนั้น ผู้ทำการวิจัยจึงสนใจศึกษาถึงประสิทธิผลรูปแบบการมีส่วนร่วมแยกขยะมูลฝอยของสมาชิกครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลบึงกาฬ
อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบวิธีการแยกขยะมูลฝอยของสมาชิกครัวเรือน
สามารถใช้เป็นแนวทางส่งเสริมความรู้และวิธีการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้องของประชาชน
ในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
รวมทั้งหน่วยงานหรือองค์กรที่สนใจ ต่อไป