The Structure of a
questionnaire
(
โครงสร้างของแบบสอบถาม )
Question order ( คำสั่งคำถาม )
-
questions should be grouped in logical groups that
relate to a particular topic คำถามที่ควรจะจัดกลุ่มในกลุ่มตรรกะที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเฉพาะ
-
a questionnaire should be viewed as a conversation and
hence should have a certain logical order. it is therefore important to exhaust
a particular topic before the next one is introduced.แบบสอบถามควรมองว่าเป็นบทสนทนาและด้วยเหตุนี้ควรจะมีบางตรรกะ
มันเป็นสิ่งสำคัญจึงหมดหัวข้อเฉพาะก่อนที่หนึ่งต่อไปคือการแนะนำให้รู้จัก
-
the more general questions about a particular topic
should be asked first, followed by the more specific questions thereby creating
a funnel effect.มีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อเฉพาะอย่างยิ่งควรจะถามก่อนตามด้วยคำถามเฉพาะเจาะจงมากขึ้นดังนั้นการสร้างผลกระทบช่องทาง
-
questions dealing with biographical information are
usually placed at the beginning of a questionnaire, since they deal with
factual information and are generally perceived to be non-threatening คำถามจัดการกับข้อมูลเกี่ยวกับชีวประวัติมักจะวางไว้ที่จุดเริ่มต้นของแบบสอบถามเนื่องจากพวกเขาจัดการกับข้อมูลข้อเท็จจริงและมีการรับรู้โดยทั่วไปจะไม่เป็นอันตราย
-
transitions between questions should be smooth การเปลี่ยนระหว่างคำถามควรจะเรียบ
-
one should avoid structuring the questionnaire in such a
way that a response pattern develops where respondents answer all the questions
in a particular way without reading the questions properly. หนึ่งควรหลีกเลี่ยงโครงสร้างแบบสอบถามในลักษณะที่ตอบสนองรูปแบบการพัฒนาที่ตอบแบบสอบถามตอบทุกคำถามในลักษณะเฉพาะโดยไม่ต้องอ่านคำถามอย่างถูกต้อง
Length
of the questionnaire ( ความยาวของแบบสอบถาม )
1
2
3
Format
and layout ( รูปแบบและการออกแบบ )
1
2
3
4
The
cover letter ( จดหมายชี้แจ้ง )
1
2
3
4
5
6
7
โดยทั่วไปแบบสอบถามที่ใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัยนั้น
ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง
หรืออาจจะนำของผู้อื่นมาใช้ทั้งหมด หรือนำมาปรับปรุง เพิ่มเติมข้อคำถาม
การที่จะนำแบบสอบถามชุดนั้น ๆ ไปเก็บรวบรวมข้อมูลจริงได้นั้น
จะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพเสียก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เนื่องจากแบบสอบถามที่ไม่ดีจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของข้อมูลโดยตรง
และยังส่งผลต่อไปยังคุณภาพของงานวิจัยด้วย
ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของแบบสอบถามที่ดีเสียก่อนว่า
ควรมีลักษณะเป็นอย่างไร
คุณลักษณะของแบบสอบถามที่ดี
แบบสอบถามที่มีคุณภาพ
จะสามารถช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง ตรงกับสิ่งที่ต้องการวัด
ดังมีคุณลักษณะต่อไปนี้
๑.
ให้ข้อมูลได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการศึกษา
หรือเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษาวิจัย
๒. สั้น กะทัดรัด
แต่ได้ข้อมูล หรือคำตอบ ครบตามที่ต้องการ และครอบคลุม
๓.
ข้อคำถามที่เขียนควรถูกต้องตามหลักการเขียนข้อคำถาม
๔.
มีคำแนะแนะในการตอบแบบสอบถามที่ชัดเจน ครบถ้วน สมบูรณ์
๕.
จัดเรียงข้อคำถามและจัดรูปแบบ อย่างเป็นระบบ ระเบียบ ชัดเจน
ดึงดูดใจให้ผู้ตอบอยากตอบ
๖. ง่าย
และสะดวกต่อการบันทึก ประมวลผล และแปลผล/ตีความข้อมูลที่ได้
การสร้างแบบสอบถามให้มีลักษณะดังกล่าว
ผู้สร้างแบบสอบถามควรพิจารณาดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ทำอย่างไร
จึงจะได้แบบสอบถามที่ให้ข้อมูลได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการศึกษา
/เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษาวิจัย กล่าวคือ
ผู้สร้างแบบสอบถามจะต้องทราบว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย /
จุดมุ่งหมายของการศึกษาดังกล่าว คืออะไร ต้องการข้อมูล คำตอบอะไร ดังนั้น
ข้อคำถามที่ใช้จะต้องถามตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ไม่ถามออกนอกเรื่อง
และเพื่อป้องกันการเขียนข้อคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องผู้สร้างแบบสอบถามอาจเขียนร่างประเด็นที่ต้องการวัดไว้
แล้วใช้เป็นหลักในการเขียนข้อคำถามในแต่ละประเด็น
อีกทั้งยังเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ในประเด็นที่ต้องการวัดได้อีกด้วย
ข้อ ๒ ทำอย่างไรแบบสอบถามที่สร้างขึ้นจึงจะสั้น กะทัดรัด แต่ได้ข้อมูล/
คำตอบที่ครอบคลุมครบถ้วนตามที่ต้องการศึกษา กล่าวคือ
ผู้สร้างจะต้องเขียนแบบสอบถามที่มีจำนวนข้อที่พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป
ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ต้องการศึกษา หรือ เรื่อง/พฤติกรรมที่ต้องการวัด
ควรเขียนข้อคำถามเฉพาะเรื่องที่จำเป็นต้องรู้ / ศึกษา เท่านั้น
ถ้าข้อคำถามใดไม่จำเป็นต้องรู้ / ไม่เกี่ยวข้อง ก็ควรตัดทิ้งไป
เพราะแบบสอบถามที่ยาวจนเกินไป มีหลายข้อ หลายหน้า
บางครั้งทำให้ผู้ตอบเกิดความเบื่อหน่าย ไม่ตั้งใจตอบ
ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่ตรงกับความเป็นจริง
ฉะนั้นข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ก็จะเกิดความสูญเปล่า ไม่เกิดประโยชน์
ข้อ ๓ ทำอย่างไรจึงจะได้ข้อคำถามที่ดี กล่าวคือ
การเขียนข้อคำถามในแต่ละข้อ จะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
๓.๑ ใช้คำ / ข้อความ / ภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ไม่คลุมเครือ
ตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย
ผู้ตอบทุกคนอ่านแล้วจะต้องตีความไปในทิศทางเดียวกัน
และไม่ใช้คำที่เข้าใจยาก เช่น คำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์วิชาการที่รู้กันเฉพาะกลุ่ม
หรือคำย่อที่ไม่เป็นที่รู้จัก ศัพท์ที่มีความหมายได้หลายนัย
หรือใช้ประโยคที่มีความซับซ้อน เป็นต้น
๓.๒ ควรเริ่มต้นด้วยคำถามที่น่าสนใจ ดึงดูดใจให้ผู้ตอบอยากตอบ ไม่ใช้คำถามที่รุนแรง
หรือ
กระทบกระเทือนอารมณ์ของผู้ตอบ
เช่น เขียนข้อคำถามว่า “เพื่อนร่วมงานของคุณรู้สึกอย่างไรกับการบริหารจัดการ”
ดีกว่าที่จะถามว่า “คุณรู้สึกอย่างไรกับการบริหารจัดการ”
๓.๓
ข้อคำถามที่ถามไม่ควรเขียนชี้นำคำตอบให้ผู้ตอบ เพราะจะทำให้ไม่ได้ข้อมูลที่ตรงกับความ
เป็นจริง
ความคิดเห็น หรือความรู้สึกของผู้ตอบ เช่น
ท่านอ่านหนังสือพิมพ์มติชนเป็นประจำใช่ไหม? หรือ ตามรายงานแพทย์ โรคเอดส์เป็นโรคอันตรายร้ายแรง ท่านเห็นว่า
โรคเอดส์เป็นอันตรายร้ายแรงด้วยหรือไม่ เป็นต้น
๓.๔
ควรหลีกเลี่ยงการเขียนข้อคำถามปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เนื่องจากจะทำให้ผู้ตอบอ่านแล้วอาจ
เกิดความสับสน
ตีความไปได้หลายความหมาย แล้วยังตอบยากอีกด้วย เช่น
ท่านไม่เชื่อว่าการไม่ขับรถเร็วจะไม่เกิดอุบัติเหตุ ? หรือ เราควรห้ามไม่ให้เด็กเล่นตู้เกมส์
เป็นต้น
๓.๕
ข้อคำถามที่เขียนควรจัดเรียงให้เป็นลำดับต่อเนื่องกัน
เรียงจากคำถามทั่วไปแล้วตามด้วย
คำถามเฉพาะ
คำถามง่าย ๆ ก่อน ยาก ๆ ไว้ช่วงหลัง เรียงคำถามตามลำดับเหตุการณ์จากอดีต ปัจจุบัน
และอนาคต
๓.๖
ข้อคำถามข้อหนึ่งควรถามเพียงปัญหาเดียว หรือเรื่องเดียว เนื่องจาก หากมีหลายคำถาม
หรือเป็นคำถามซ้อนในประโยคเดียวกัน
จะทำให้สับสนในการตอบ และสรุปผล เช่น
ท่านเคยดูรายการกบนอกกะลาและรายการคนค้นคนหรือไม่ คำถามนี้ ถ้าผู้ตอบตอบว่า เคยดู
ก็ไม่ทราบว่าเคยดูทั้ง ๒ รายการ หรือเคยดูเพียงรายการเดียว เป็นต้น
๓.๗
คำตอบหรือตัวเลือกในข้อคำถามควรมีมากพอ หรือเหมาะสมกับข้อคำถามนั้น แต่ถ้าไม่
สามารถระบุได้หมด
อาจให้ผู้ตอบระบุเองได้ โดยเว้นช่องว่างให้ผู้ตอบเขียน เช่น อื่น ๆ
(โปรดระบุ).................................
รวมทั้งคำตอบหรือตัวเลือกนั้นจะต้องไม่ยาวจนเกินไป
๓.๘
หลีกเลี่ยงข้อคำถามที่ให้ผู้ตอบต้องระลึก หรือนึกย้อนหลังไปเป็นเวลานาน ๆ
๓.๙
ควรใช้ข้อคำถามปลายปิดมากกว่าข้อคำถามปลายเปิด เนื่องจากข้อคำถามปลายปิดจะ
กำหนดคำตอบให้ผู้ตอบได้เลือก
ซึ่งจะได้คำตอบที่ชัดเจน และตรงกับวัตถุประสงค์หรือจุดหมายที่ต้องการทราบ /ศึกษา
๓.๑๐
ควรหลีกเลี่ยงข้อคำถามที่ผู้ตอบไม่มีสิทธิเลือกตอบ
หรือมีคำตอบอยู่ในข้อคำถามนั้นอยู่
แล้ว เช่น
คุณเคยทำร้ายภรรยาของคุณใช่หรือไม่
ข้อ
๔ ทำอย่างไรจึงจะช่วยให้ผู้ตอบเข้าใจในวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายในการตอบ
และตอบได้ตรงกับสิ่งที่ผู้วิจัย /ผู้ศึกษาต้องการ กล่าวคือ ผู้สร้างแบบสอบถามจะต้องเขียนคำแนะนำ
คำชี้แจงต่าง ๆ ในการตอบแบบ
สอบถามให้ชัดเจน
โดยเริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์ในการตอบแบบสอบถามครั้งนี้รายละเอียดของแบบสอบถาม
ว่ามีกี่ตอน กี่ข้อ และวิธีการตอบ ตอบอย่างไร รวมทั้ง
ควรอธิบายความหมายของคำศัพท์เฉพาะบางคำที่อาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ไม่ตรงกัน
ซึ่งถ้าไม่อธิบาย อาจทำให้ผู้ตอบตีความหรือเข้าใจความหมายของคำคลาดเคลื่อนไป
ข้อ
๕ ทำอย่างไรจึงจะจัดเรียงข้อคำถามและจัดรูปแบบ อย่างเป็นระบบ ระเบียบ
ชัดเจนดึงดูดใจให้ผู้ตอบอยากตอบ กล่าวคือ
ผู้สร้างแบบสอบถามจะต้องจัดเรียงข้อคำถามให้เป็นหมวดหมู่คำถามที่ถามเรื่องเดียวกัน
ตัวแปรที่มีลักษณะคล้ายกัน ควรรวมไว้ด้วยกัน
ซึ่งแบบสอบถามทั่วไปจะเรียงคำถามเป็นส่วน ๆ
ส่วนแรกจะเป็นคำถามเกี่ยวกับตัวแปรอิสระ และข้อมูลพื้นฐาน เช่น เพศ อายุรายได้ ฯลฯ
ของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนต่อไปจึงเป็นคำถามที่เกี่ยวกับตัวแปรตาม เป็นต้น และควรจัดเรียงคำถามไว้เป็นตอน
ๆ ไม่กระจัดกระจาย มิใช่ถามเรื่องหนึ่งเรื่องใดซ้ำไปซ้ำมา
อาจทำให้ผู้ตอบเกิดความสับสน รวมทั้งการจัดพิมพ์ ก็มีความสำคัญ ควรเว้นช่องว่าง
หรือเว้นวรรคตอนให้เห็นชัดเจน ให้เหมาะสม ไม่แน่นจนเกินไป
อาจทำให้ผู้ตอบรู้สึกไม่อยากตอบ ตัวอักษรต่าง ๆ ต้องมีความชัดเจนอ่านออกง่าย
เป็นต้น
ข้อ
๖ ทำอย่างไรจึงจะได้แบบสอบถามที่ง่ายและสะดวกในการตอบ บันทึก ประมวลผล และแปลผล /
ตีความข้อมูลที่ได้ กล่าวคือ รูปแบบของข้อคำถามบางส่วน /บางตอนที่มีจำนวนหลาย ๆ
ข้อที่มีรูปแบบในการตอบเหมือนกัน เช่น ข้อคำถามที่มีลักษณะแบบมาตรประมาณค่า (Rating
Scale) ผู้สร้างแบบสอบถามสามารถจัดทำข้อคำถามดังกล่าวในรูปของตารางได้
เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ/ข้อควรระวังในการสร้างแบบสอบถาม
๑.
ก่อนลงมือสร้างแบบสอบถาม ควรเขียนวัตถุประสงค์ / จุดมุ่งหมายในการศึกษาครั้งนั้น ๆ
ให้ชัดเจน ว่าต้องการศึกษาอะไร (พิจารณาตามวัตถุประสงค์การวิจัย) วัดพฤติกรรมอะไร
(พิจารณาตามแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย และจะวัดได้อย่างไร
(ใช้อะไรเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล)
๒.
ขณะที่กำลังเขียนข้อคำถามแต่ละข้อ
ผู้สร้างแบบสอบถามควรตรวจสอบข้อคำถามด้วยตนเองกับวัตถุประสงค์ในการศึกษาอยู่ตลอด
เพื่อให้เขียนข้อคำถามอยู่ภายในขอบเขตที่ต้องการศึกษาโดยพิจารณาถึง
ความจำเป็นของข้อคำถาม ความครอบคลุม ว่าเกินกว่าที่ต้องการจะศึกษาหรือไม่
มีข้อคำถามใดที่ทำให้ผู้ตอบเข้าใจไขว้เขว เข้าใจยาก ไม่ชัดเจนหรือไม่ สุดท้าย
ผู้ตอบมีความรู้ ความชำนาญพอที่จะให้คำตอบที่น่าเชื่อถือได้เพียงใด
๓.
เมื่อเขียนข้อคำถามเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรตรวจดูความเรียบร้อยอีกครั้ง
และให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะทำวิจัย
และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการสร้างเครื่องมือวิจัย เป็นผู้ตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง เพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญไปปรับปรุงและแก้ไขข้อคำถามต่าง
ๆ ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
๔.
แบบสอบถามที่สร้างขึ้น ควรได้รับการตรวจสอบคุณภาพ
ก่อนนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลจริงเพื่อให้มีความเชื่อมั่นว่า
ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้นั้น คือ สิ่งที่ต้องการศึกษา / วิจัยจริง ๆ
สรุป
การสร้างแบบสอบถามที่ดีนั้น คือ
การได้ข้อมูลที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์วิจัยอย่างครบถ้วน
ไม่ขาดจนไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ หรือ ไม่เกินจนเกิดความสูญเปล่า ดังนั้น
ผู้สร้างแบบสอบถามควรปฏิบัติตามขั้นตอนในการสร้างแบบสอบถามดังได้กล่าวไว้แล้วในฉบับที่ผ่านมา
และคำนึงถึงการเขียนข้อคำถามเป็นสำคัญ
เพื่อให้ผู้ตอบเข้าใจในข้อคำถามได้อย่างชัดเจน
และตอบคำถามได้ตรงกับสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาวิจัย
ซึ่งหากผู้วิจัยสามารถสร้างแบบสอบถามได้ถูกต้องตามหลักการตามขั้นตอนในการสร้างแบบสอบถาม
และผ่านการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว
ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้จากแบบสอบถามฉบับดังกล่าว ก็จะมีความถูกต้อง
ตรงตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และมีความน่าเชื่อถือ
อันจะส่งผลให้ผลการวิจัยเรื่องนั้นสะท้อนถึงปัญหาที่ต้องการศึกษาวิจัยอย่างแท้จริง
Betting 101: How to Bet on Sports to Win Big - Sporting 100
ตอบลบYou can bet on every sport at Sporting 100. The aim of 토토사이트 this guide is simple. Each day you will find the top 10 sports and betting sites