วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทคัดย่องาน R2R ขยะ


วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ระบบสุขภาพ

จากข้อมูลการศึกษาของ Roemer 1993 ได้วิเคราะห์ระบบบริการสุขภาพพื้นฐานขององค์ประกอบต่างๆ ของระบบ ใน 165 ประเทศ ได้จัดประเภทของระบบบริการสุขภาพทั่วโลกเป็น 4 ประเภท  คือ

      1.ระบบสุขภาพแบบตลาดเสรี( Free Market Model )
2.ระบบสุขภาพแบบประกันสุขภาพ(Social Insurance Model)
3.ระบบสุขภาพแบบบริการสุขภาพแห่งชาติ ( National Health Service (NHS) Model  )
4.ระบบสุขภาพแบบสังคมนิยม (Socialist Model )
          บทความนี้จึงเป็นการศึกษาถึงรูปแบบระบบบริการสุขภาพรูปแบบต่างๆที่มีการนำมาใช้เพื่อการดูแล
สุขภาพของประชาชนในประเทศประเทศต่างๆ และทำการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของระบบเหล่านี้ โดยการวิเคราะห์ตามลักษณะของรูปแบบดังนี้ คำนิยาม/ลักษณะรูปแบบ (Definition),บทบาทของภาครัฐ(Role of state) แหล่งเงินทุน (Funding),การควบคุมงบประมาณ (Budget control), จุดแข็ง (Strength), จุดอ่อน (Weakness), แนวโน้ม (Major innovation) เพื่อเป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างของแต่ละระบบ ซึ่งในหลายๆประเทศที่ใช้ระบบบริการสุขภาพที่แตกต่าง ว่าเหตุใดแต่ละชาติถึงได้มีการเลือกใช้ระบบบริการสุขภาพที่แตกต่างกันออกไป อนึ่งก็เพื่อเป็นการศึกษาถึงระบบบริการสุขภาพที่ประเทศไทยได้นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ต่างๆในประเทศไทยหรือไม่อย่างไร

โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization;WHO) ได้ให้ความหมายของสุขภาพว่า                Health is complete physical, mental, social  and spiritual well being.” ซึ่งหมายถึงสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย ทางจิต  ทางสังคมและทางจิตวิญญาณ                

        สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย  หมายถึง ร่างกายที่สมบูรณ์  แข็งแรง  คล่องแคล่ว  มีกำลังไม่เป็นโรคไม่พิการไม่บาดเจ็บ มีเศรษฐกิจดี มีอาหารพอเพียง  มีสภาพแวดล้อมที่สร้างเสริมสุขภาพซึ่งคำว่ากายในที่นี้หมายถึงทางกายภาพด้วย                

        สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิต  หมายถึง  จิตใจที่มีความสุข รื่นเริง ผ่อนคลาย ไม่เครียด มีความเมตตา  มีสติ  มีสมาธิ  มีปัญญา  รวมถึงลดความเห็นแก่ตัวลงไปด้วยเพราะตราบใดที่ยังมีความเห็นแก่ตัวจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทางจิตไม่ได้                

       สุขภาพที่สมบูรณ์ทางสังคม  หมายถึง  มีการอยู่ร่วมกันได้ดี  มีครอบครัวอบอุ่น  ชุมชนเข้มแข็ง  สังคมมีความยุติธรรม  มีความเสมอภาค  มีสันติภาพ  มีความเป็นประชาสังคม  มีระบบบริการที่ดี               

      สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ (Spiritualwell-being) หมายถึง สุขภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อทำความดีหรือจิตสัมผัสกับสิ่งที่มีคุณค่าอันสูงสุด เช่น การเสียสละ  การมีความเมตตากรุณา  การเข้าถึงพระรัตนตรัย  หรือการเข้า ถึงพระผู้เป็นเจ้า ความสุขทางจิตวิญญาณเป็นความสุขที่ไม่ระคนอยู่กับการเห็นแก่ตัว  แต่เป็นสุขภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์หลุดพ้นจากความมีตัวตน  จึงมีอิสรภาพ  มีความผ่อนคลายอย่างยิ่ง  เบาสบาย  มีความปิติแผ่ซ่านทั่วไป  มีความสุขอันปราณีตและล้ำลึก  หรือความสุขอันเป็นทิพย์  มีความเอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ                 

       สุขภาพโลก (Global Health) หมายถึงปัญหา หรือข้อกังวลด้านสุขภาพ ที่ข้ามพรมแดน หรือผลจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนอกพรมแดน และเกินขอบเขตและความสามารถของรัฐใดรัฐหนึ่งที่จะดำเนินการได้สำเร็จ ต้องการกลไกที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในระดับภูมิภาคหรือระดับโลก เพื่อจัดการปัญหาสุขภาพและปัจจัยกำหนดปัญหาเหล่านั้น 

       ระบบสุขภาพโลก (Global Health System) หมายถึง ระบบและกลไกการจัดการเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพที่ข้ามพรมแดน ที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และความร่วมมือระหว่างประเทศประเภทของระบบบริการสุขภาพทั่วโลกเป็น 4 ประเภท  คือ

1.ระบบสุขภาพแบบตลาดเสรี( Free Market Model / Entrepreneurial )
ชาติที่ใช้รูปแบบระบบสุขภาพแบบนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา,แอฟริกาใต้,สวิสเซอร์แลนด์,ฟิลิปปินส์ เป็นต้นการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ

      - องค์ประกอบต่างๆ ของระบบบริการสุขภาพจัดในรูปแบบเอกชนที่แข่งขันภายใต้ตลาดเสรีเป็นส่วนใหญ่

      -  รัฐมีส่วนเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดน้อย
-  ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพส่วนใหญ่มาจากเอกชน

      -  หน่วยบริการส่วนใหญ่เป็นของเอกชน
-  เป็นความรับผิดชอบของบุคคลที่จะดูแลตนเอง

       -  การเข้าถึงบริการสุขภาพไม่ทั่วถึง

      - บุคลากรส่วนใหญ่ไม่ใช่พนักงานของรัฐ

      - การบริการมีคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ

      -  ค่าใช้จ่ายสูง 

2.ระบบสุขภาพแบบประกันสุขภาพ (Social Insurance Model)
ชาติที่ใช้รูปแบบระบบสุขภาพแบบนี้ ได้แก่ เยอรมัน ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เบลเยียม เป็นต้น การบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ-                   รัฐไม่แทรกแซงกลไกในการจัดบริการสุขภาพหลายๆ ทาง อาทิ ด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล-                    บางรัฐได้จัดสร้างและกระจายสถานบริการขนาดเล็กในเขตชนบท
-                    รัฐเป็นผู้รับจัดบริการพื้นฐาน อาทิ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การให้การรักษาพยาบาลที่จำเป็น-                   สุขภาพเป็นเรื่องที่สามารถประกันได้-                   แหล่งทุนและการบริหารมาจากนายจ้างและลูกจ้าง-                   มีผู้เชี่ยวชาญในการบริหารกองทุน-                   การจัดบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน-                   ค่าใช้จ่ายสูง-                   ใช้หลักการตลาดในการบริหารจัดการ

3.ระบบสุขภาพแบบบริการสุขภาพแห่งชาติ ( National Health Service (NHS) Model/ Comprehensive)ชาติที่ใช้รูปแบบระบบสุขภาพแบบนี้ ได้แก่ อังกฤษ ออสเตเรีย นิวซีแลนด์ แคนนาดา สเปน อิตาลี  เป็นต้น การบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ-                   รัฐได้มีบทบาทในระบบบริการสุขภาพมาก เพื่อให้ประชากรทุกคนได้รับบริการสุขภาพอย่างครอบคลุมทัดเทียมกันภายใต้เงื่อนไขระดับเศรษฐกิจของประเทศ-                   รัฐให้ความสำคัญต่อการจัดระบบบริการสุขภาพแก่ประชาชน-                   ประชาชนสามารถรับบริการสุขภาพโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วยตนเองโดยรัฐเป็นผู้จัดสรรภาษีเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด-                   สถานพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในการควบคุมของรัฐโดยตรง-                   หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับการบริการที่ครบวงจร-                   บุคลากรเป็นพนักงานของรัฐ

4.ระบบสุขภาพแบบสังคมนิยม (Socialist Model )
ชาติที่ใช้รูปแบบระบบสุขภาพแบบนี้ ได้แก่ จีน สหภาพโซเวียต คิวบา เป็นต้น การบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ-                   รัฐได้เข้าไปจัดการบริการสุขภาพอย่างสิ้นเชิง-                    ไม่อนุญาตให้มีกลไกตลาดเอกชนใด ๆ
-                   ใช้วิธีวางแผนจัดการจากส่วนกลาง
-                   ทรัพยากรสาธารณสุขต่างๆอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ
-                   ประชาชนทุกคนจะได้รับบริการจากรัฐ
           

จากข้อมูลข้างต้นสามารถวิเคราะห์ระบบบริการสุขภาพแบบต่างได้ดังนี้คำนิยาม/ลักษณะรูปแบบ (Definition)
แบบตลาดเสรี มองว่าสุขภาพสามารถซื้อขายได้แบบประกันสุขภาพ มองว่าสุขภาพสามรถประกันได้แบบบริการสุขภาพแห่งชาติ มองว่ารัฐต้องเป็นผู้ดูแลแบบสังคมนิยม มองทุกคนต้องได้รับบริการที่เท่าเทียมกัน   

บทบาทของภาครัฐ(Role of state)
รูปแบบที่รัฐมีบทบาทมากที่สุดไปหาน้อยสุดคือ ระบบบริการสังคมนิยม ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ ระบบบริการสุขภาพประกันสุขภาพ และระบบบริการตลาดเสรี  

แหล่งเงินทุน (Funding)
แหล่งทุนจากภาครัฐ คือ ระบบบริการสุขภาพสังคมนิยมและระบบบริการสุขภาพแห่งชาติแหล่งทุนที่มาจากเอกชน คือ ระบบบริการสุขภาพประกันสุขภาพ และระบบบริการตลาดเสรี  

การควบคุมงบประมาณ (Budget control)ควบคุมโดยภาครัฐ คือ ระบบบริการสุขภาพสังคมนิยมและระบบบริการสุขภาพแห่งชาติควบคุมโดยเอกชน คือ ระบบบริการสุขภาพประกันสุขภาพ และระบบบริการตลาดเสรี  

จุดแข็ง (Strength)
ความครอบคลุมและการเข้าถึงบริการของประชาชนมากที่สุดคือ ระบบบริการสุขภาพสังคมนิยมและระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ แต่ระบบบริการสุขภาพประกันสุขภาพ และระบบบริการตลาดเสรี  มีบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานที่ดีกว่า

จุดอ่อน (Weakness)
ระบบบริการสุขภาพประกันสุขภาพ และระบบบริการตลาดเสรี  มีค่าใช้จ่ายสูง ความครอบคลุมและการเข้าถึงบริการของประชาชนมีน้อย แต่ระบบบริการสุขภาพสังคมนิยมและระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ เป็นการบริหารโดยระบบราชการที่มีความล้าช้า ซับซ้อน และมีโอกาสเกิดการคอร์รับชั่นสูง

 

แนวโน้ม (Major innovation)ระบบบริการสุขภาพประกันสุขภาพ และระบบบริการตลาดเสรี   มีการแข่งขันสูงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลบริหารจัดการระบบเพื่อให้เกิดการบริการที่มีคุณภาพมากยิ่งๆขึ้นไป ส่วนระบบบริการสุขภาพสังคมนิยม นั้นหากมีความเจริญก้าวหน้ามากทางด้านเศรษฐกิจ อาจส่งผลต่อความต้องการบริการที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อาจนำไปสู่การล้มสลายของระบบได้ ส่วนระบบบริการสุขภาพแห่งชาตินั้นต้องมีการบริหารจัดการที่ดีเพราะหากเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจของภาครัฐก็อาจเกิดปัญหาในการบริหารจัดการและความต้องการของประชาชนต่อการให้บริการได้เหมือนกัน

ระบบบริการสุขภาพของไทย (ปัจจุบัน)-                   ระบบบริการสุขภาพของไทยปัจจุบัน เป็นระบบบริการสุขภาพแบบสวัสดิการ
-                   มีโครงสร้างของระบบบริการสาธารณสุขครอบคลุมทุกระดับ  (จังหวัด-หมู่บ้าน)
-                   ให้การบริการสาธารณสุขในลักษณะผสมผสาน (Integrated Health Service)
-                   มุ่งเน้นเป้าหมายในการจัดระบบบริการคุณภาพ
-                   ให้ความสำคัญกับประชาชนจะได้รับบริการสุขภาพอย่างเสมอภาค (Equity) ตามความจำเป็นด้านสุขภาพอนามัยโดยเสียค่าใช้จ่ายตามความ สามารถที่ช่วยได้
-                   การบริการของเอกชนจะกระจายไปตามศักยภาพของเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ
 
ปัญหาระบบบริการสุขภาพของไทยมีปัญหาสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่1.ปัญหาความไม่เป็นธรรม
-                  การกระจายทรัพยากร-                  การเข้าถึงและการใช้บริการ (คนเมืองเข้าถึงได้มาก)-                  สถานพยาบาล (นอก-ใน เขตเมือง)-                   การรับภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (คนจนมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงกว่าคนรวย)
2.ปัญหาประสิทธิภาพของระบบบริการสาธารณสุข-                   ประสิทธิภาพของบริการ (รักษามีประสิทธิภาพทำให้สุขภาพดีน้อยกว่าส่งเสริม)
-                   ประสิทธิภาพในการลงทุนด้านเตียง (อัตราครองเตียง <80 aria-haspopup="true" class="goog-spellcheck-word" id=":11.4" role="menuitem" span="" style="background: yellow;" tabindex="-1">br

="">3.คุณภาพระบบบริการ (รัฐ-เอกชน ต่างกัน ด้านบริการ ค่าใช้จ่าย)
4.การเข้าถึงบริการในยามฉุกเฉิน (กรณีอุบัติเหตุ)
5.ความไม่ครอบคลุมของหลักประกันสุขภาพ

Joseph M.Juran

ทฤษฎีจูราน (Joseph  M.Juran)
             1. นิยามคุณภาพ คือ Fitness for Use
             2. ให้กำเนิดแนวคิดลูกค้าภายใน (Internal Customer)
             3. มุ่งเน้นที่ประโยชน์ใช้สอยและการควบคุมด้วยการบริหารจัดการ
             4. ให้ความสำคัญกับต้นทุนแห่งคุณภาพ
             5. แนะนำให้แก้ปัญหาสำคัญ 2 - 3 ปัญหาที่เมื่อแก้ไขแล้วจะทำให้ผลใหญ่หลวงคือปัญหาต่าง ๆ หายไป
             6. แนะนำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพรับผิดชอบเรื่องวางแผนและการประสานงาน
             7. ใช้วิธีสำรวจอย่างกว้างขวาง
            แนวคิดตามทฤษฎีการบริหารคุณภาพของ Juran ( J.M. Juran ) ที่เรียกว่า ไตรศาสตร์ด้านคุณภาพของจูราน ( Triology of Quality - Juran ) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของระบบการบริหารคุณภาพกับการวางแผนคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการปรับปรุงคุณภาพโดยสามารถแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้



แผนภูมิที่ 1.2 แสดงไตรศาสตร์คุณภาพของจูราน

             การบริหารคุณภาพ  ( Quality Management ) เป็นกิจกรรมที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในคุณภาพของตน ทุกคนทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทุกคนเข้าใจเรื่องของลูกค้า และให้ลูกค้าเป็นผู้กำหนดมาตรฐานหรือความต้องการจุดนั้น คือ ผลสัมฤทธิ์ของงาน
            การวางแผนคุณภาพ    ( Quality Planing )     เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมาย ( Goal ) ด้านคุณภาพและวิธีการ ( Means ) ไปสู่การจัดการด้านคุณภาพ เพื่อกำหนดทิศทางที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้านคุณภาพ
            การควบคุมคุณภาพ (Quality Control ) เป็นกิจกรรมอย่างมีระบบแบบแผน เพื่อติดตาม
เฝ้าระวังปัญหา และการแก้ไขปัญหา โดยเน้นการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และรวมถึงกลวิธีต่างๆ ในการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่คุณภาพตามเป้าหมายขององค์การ
            การประกันคุณภาพ ( Quality Assurance ) การปฏิบัติการใดๆ ที่ดำเนินการอย่างมีระบบแบบแผนและได้รับความไว้วางใจอย่างเพียงพอว่าบริการนั้นๆ จะตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าแล้ว ถือเป็นระบบของการประกันคุณภาพ
            การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ( Quality Improvement ) เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาให้เกิดความพอใจสูงสุดโดยรวมของลูกค้า ( Tool Customer Satisfaction )

            โดยสรุปแล้ว การบริหารคุณภาพเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการจัดการในการวางแผน ( Planning) การนำแผนไปปฏิบัติ ( Implementation ) และการประเมินผล ( Evaluation ) เหมือนกับหลักการบริหารทั่วไป ไม่ว่าจะอธิบายด้วยทฤษฎีการบริหารในรูปแบบใดก็มีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้น การจัดการคุณภาพจึงเป็นการบริหารและการจัดการโดยมีเป้าหมายให้เกิดคุณภาพ คือ ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าต่อกิจกรรมขององค์การนั่นเอง








Phillip B. Crosby

ครอสบี้ (Phillip  B. Crosby)
             1. คุณภาพได้มาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย (Quality  Is  Fee)
             2. นิยามคุณภาพ คือ การทำได้ตามข้อกำหนด (Conformance  to  Requirement)
             3. มุ่งเน้นที่ของเสียเป็นศูนย์ (Zero  Defect)
             4. ตรวจวัดต้นทุนคุณภาพ
             5. แนะนำให้ฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบในการแก้ปัญหาต่าง ๆ 
             6. ให้ความสำคัญกับการป้องกันความผิดพลาด
             7. พัฒนาปรัชญาคุณภาพ 14 ขั้นตอน
             8. ความผูกพันธ์ของฝ่ายบริหาร (Management  Commitment)
             9. จัดตั้งทีมปรับปรุงคุณภาพ (Quality  Improvement  Team)
             10. กำหนดตัวชี้วัด (Measurement)
             11. กำหนดต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality)
             12. ความตระหนักรู้คุณภาพ (Quality  Awareness)
             13. การปฏิบัติแก้ไข (Corrective  Action)
             14. การวางแผนลดของเสีย (Zero  Defect  Planing)
             15. การให้การศึกษาแก่พนักงาน (Employee  Education)
             16. การจัดวันของเสียเป็นศูนย์ (Zero  Defect  Days)
             17. การกำหนดเป้าหมาย (Goal  Setting)
             18. การขจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดพลาด (Error  cause  Removal)
             19. การให้การยอมรับ (Recognition)
             20. การจัดตั้งสภาคุณภาพ (Quality  Councils)
             21. การทำซ้ำใหม่ (Do  it  all  Over  Again) 




วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อ.สุไวรินทร์