วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Joseph M.Juran

ทฤษฎีจูราน (Joseph  M.Juran)
             1. นิยามคุณภาพ คือ Fitness for Use
             2. ให้กำเนิดแนวคิดลูกค้าภายใน (Internal Customer)
             3. มุ่งเน้นที่ประโยชน์ใช้สอยและการควบคุมด้วยการบริหารจัดการ
             4. ให้ความสำคัญกับต้นทุนแห่งคุณภาพ
             5. แนะนำให้แก้ปัญหาสำคัญ 2 - 3 ปัญหาที่เมื่อแก้ไขแล้วจะทำให้ผลใหญ่หลวงคือปัญหาต่าง ๆ หายไป
             6. แนะนำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพรับผิดชอบเรื่องวางแผนและการประสานงาน
             7. ใช้วิธีสำรวจอย่างกว้างขวาง
            แนวคิดตามทฤษฎีการบริหารคุณภาพของ Juran ( J.M. Juran ) ที่เรียกว่า ไตรศาสตร์ด้านคุณภาพของจูราน ( Triology of Quality - Juran ) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของระบบการบริหารคุณภาพกับการวางแผนคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการปรับปรุงคุณภาพโดยสามารถแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้



แผนภูมิที่ 1.2 แสดงไตรศาสตร์คุณภาพของจูราน

             การบริหารคุณภาพ  ( Quality Management ) เป็นกิจกรรมที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในคุณภาพของตน ทุกคนทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทุกคนเข้าใจเรื่องของลูกค้า และให้ลูกค้าเป็นผู้กำหนดมาตรฐานหรือความต้องการจุดนั้น คือ ผลสัมฤทธิ์ของงาน
            การวางแผนคุณภาพ    ( Quality Planing )     เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมาย ( Goal ) ด้านคุณภาพและวิธีการ ( Means ) ไปสู่การจัดการด้านคุณภาพ เพื่อกำหนดทิศทางที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้านคุณภาพ
            การควบคุมคุณภาพ (Quality Control ) เป็นกิจกรรมอย่างมีระบบแบบแผน เพื่อติดตาม
เฝ้าระวังปัญหา และการแก้ไขปัญหา โดยเน้นการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และรวมถึงกลวิธีต่างๆ ในการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่คุณภาพตามเป้าหมายขององค์การ
            การประกันคุณภาพ ( Quality Assurance ) การปฏิบัติการใดๆ ที่ดำเนินการอย่างมีระบบแบบแผนและได้รับความไว้วางใจอย่างเพียงพอว่าบริการนั้นๆ จะตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าแล้ว ถือเป็นระบบของการประกันคุณภาพ
            การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ( Quality Improvement ) เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาให้เกิดความพอใจสูงสุดโดยรวมของลูกค้า ( Tool Customer Satisfaction )

            โดยสรุปแล้ว การบริหารคุณภาพเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการจัดการในการวางแผน ( Planning) การนำแผนไปปฏิบัติ ( Implementation ) และการประเมินผล ( Evaluation ) เหมือนกับหลักการบริหารทั่วไป ไม่ว่าจะอธิบายด้วยทฤษฎีการบริหารในรูปแบบใดก็มีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้น การจัดการคุณภาพจึงเป็นการบริหารและการจัดการโดยมีเป้าหมายให้เกิดคุณภาพ คือ ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าต่อกิจกรรมขององค์การนั่นเอง








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น